เมนู

โอเปนฺติ ความว่า บุคคลจะไม่เก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางคือ
ข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไม่มี. บทว่า น กุมฺภา ได้แก่ ไม่เก็บไว้ใน
หม้อ. บทว่า น กโฬปิยํ ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในกระบุง. บทว่า ปรนิฏฺฐิตเมสนา
ได้แก่ เสาะแสวงหาของที่สุกแล้วในเรื่องนั้น ๆ ที่สำเร็จเพื่อคนเหล่าอื่นด้วย
ภิกขาจารวัตร. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสวงหาอย่างนี้นั้น. บทว่า
สุพฺพตา ได้แก่ สมาทานวัตรงามดีแล้ว ตลอด 10 ปีบ้าง 60 ปีบ้าง. บทว่า
สุมนฺตนฺติโน คือมีปกติกล่าวคำสุภาษิตตอย่างนี้ว่า เราจะสาธยายยธรรม จัก-
ปฏิบัติธุดงค์ จักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ . บทว่า ตุณฺหีภูตา สมญฺจรา
ความว่า แม้กล่าวธรรม ก็ยังกังวานอยู่เสมอตลอดทั้ง 3 ยามเหมือนเสียงฟ้าร้อง.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีคำที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ปุถุมจฺจา จ
ได้แก่ สัตว์เป็นอันมากผิดใจกันและกัน . บทว่า อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตา
ได้แก่ ดับเสียได้ในอาชญาที่ถือเอาแล้ว เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น คือสละอาชญา
เสียแล้ว. บทว่า สาทาเนสุ อนาทานา ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ
ถือมั่น ไม่มีความถือมั่นเพราะไม่ถือมั่น แม้ส่วนหนึ่งของกำเนิดภพเป็นต้น.
จบอรรถกถาสักกนมัสสนสูตรที่ 10
จบ ทุติยวรรคที่ 2


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมเทวสูตร 2. ทุติยเทวสูตร 3. ตติยเทวสูตร 4. ทฬิททสูตร
5. รามเณยยกสูตร 6. ยชมานสูตร 7. วันทนสูตร 8. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
9. ทุติยสักกนมัสสนสูตร 10. ตติยสักกนมัสสนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

สักกปัญจกะที่ 3



1. ฆัตวาสูตร



ว่าด้วยผลการฆ่าความโกรธ



[943] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นแล้วทรงถวายบังคม แล้วประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.
[944] ท้าวสักกะจอมเทพประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบ
ร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรแล้ว จึงจะอยู่เป็นสุข
ฆ่าอะไรแล้ว จึงจะไม่เศร้าโศก ข้าแต่
พระโคดม พระองค์ทรงชอบการฆ่าอะไร
อันเป็นธรรมอย่างเอก.

[945] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อม
อยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสียแล้วย่อมไม่
เศร้าโศก ดูก่อนท้าววาสวะ พระอริยะเจ้า
ทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ
อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน เพราะ